วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

สาระย่อ



สาระย่อ

          กล้วยเป็นพรรณไม้ล้มลุก  มีมากมายหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า  กล้วยไข่  กล้วยหอมทอง  กล้วยตานี  กล้วยหักมุก  กล้วยเล็บมือนาง   กล้วยส้ม  กล้วยนาค  กล้วยงวงช้าง ฯลฯ
          ลำต้นของกล้วยเกิดจากกาบหุ้มซ้อนกัน  สูงประมาณ ๒-๕ เมตร          ใบเป็นใบเดี่ยว  เกิดกระจายส่วนปลายของลำต้น  เวียนสลับซ้ายขวาต่างระนาบกัน  ก้านใบยาว  แผ่นใบกว้าง  เส้นของใบขนานกัน  ปลายใบมนมีติ่งผิวใบเรียบลื่น  ใบมีสีเขียว  ด้านล่างมีใบนวลหรือแป้งปกคลุม  ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็นปลี  และมักยาวเป็นงวง  มีลูกเป็นหวีๆ รวมเรียกว่า “เครือ”
          แหล่งกำเนิดและการกระจาย  กล้วยที่ปลูกกันอยู่ทุกวันนี้  ตามหลักฐานปรากฏว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีเอกสารกล่าวว่า คนแถบนี้ใช้ประโยชน์จากกล้วยกันมานานแล้ว  แม้ว่าประวัติความเป็นมาของกล้วยจะไม่แพร่หลายมากนัก  แต่เป็นที่รู้จักกันว่า กล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนเอเชียแถบร้อนชื้น  โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ปลูกใช้เป็นอาหารก่อนรู้จักการดื่มนม  ทารกไทยส่วนใหญ่เติบโตมาด้วยกล้วยบด
          สำหรับประเทศไทยมีปลูกกันมานาน ก่อนอาณาจักรศรีวิชัย           พ.ศ. ๑๒๐๐ โดยประมาณ  ปัจจุบันพันธุ์กล้วยที่สำคัญของไทย ได้แก่          กล้วยน้ำว้า  ปลูกกันมากที่สุดที่จังหวัดเลย  หนองคาย  ระนอง ตามลำดับ  รองลงมา ได้แก่ กล้วยไข่ ซึ่งปลูกกันมากที่จังหวัดกำแพงเพชร  ตาก  และนครสวรรค์


          ประโยชน์ของกล้วย  กล้วยมีประโยชน์มาก ทั้งลำต้น  หัวปลี  ใบ  ผล  ราก  เช่น
๑)     รากและลำต้นแท้  สามารถนำมาทำสมุนไพรใช้รักษาโรคตาม
แผนโบราณ  รักษาผิวหนังที่แดง  ไฟไหม้  น้ำร้อนลวก  หรือนำมาต้มแก้กระหายน้ำได้เป็นอย่างดี
๒)    ลำต้นเทียมหรือกาบลำต้น  ใช้ทำเส้นใยหรือเชือกทอผ้า 
ทำอาหารสัตว์หรือเป็นอาหารของคนอีกด้วย เช่น หยวกกล้วย
๓)      ก้านกล้วย นำมาทำเป็นเครื่องประดิษฐ์ให้เด็กเล่น เช่น
ม้าก้านกล้วย
๔)     ใบกล้วย  ใช้ทำงานประดิษฐ์ เช่น ทำกระทง  บายศรี
๕)     ผลกล้วย  ใช้รับประทานได้ทั้งอ่อน แก่และสุก เช่น ทำกล้วยเชื่อม 
กล้วยบวชชี  กล้วยฉาบ  กล้วยตาก  สำหรับที่อ่อน ๆ หรือดิบ ก็ใช้รับประทาน
เป็นผักได้
๖)     ปลีกล้วย  ทำเป็นเครื่องเคียง เช่น เครื่องเคียงผัดไทย  กะปิหลน
และยังนำมาปรุงอาหารได้อีก เช่น ยำหัวปลี  แกงเลียง เป็นต้น
          ประการสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ การใช้ทุกส่วนของกล้วย  สืบทอดทางประเพณีวัฒนธรรม  เช่น ลอยกระทง  สู่ขวัญบายศรี ในงานพิธีต่าง ๆ เช่น
พิธีทำขวัญเด็ก  พิธีแต่งงาน  พิธีปลูกบ้าน เป็นต้น 


แหล่งกำเนิดและการกระจายของกล้วย



แหล่งกำเนิดและการกระจาย

         กล้วยที่ปลูกกันอยู่ทุกวันนี้ ตามหลักฐานปรากฏว่า  มีถิ่นกำเนิด          อยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  มีเอกสารกล่าวว่า คนแถบนี้ใช้ประโยชน์จากกล้วยกันมานานแล้ว แม้ว่าประวัติความเป็นมา ของกล้วยจะไม่แพร่หลายนัก
แต่เป็นที่รู้กันว่า กล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนเอเชียแถบร้อนชื้น  โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปลูกใช้เป็นอาหารก่อนรู้จักการดื่มนม  ทารกไทยส่วนใหญ่เติบโตมาด้วยกล้วยบด  แหล่งกำเนิดจริงๆ ของกล้วยยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่
    ทฤษฎีของซิกมอนด์และเชเพิร์ด ที่ได้รับการยอมรับกันเป็นส่วนใหญ่

เสนอว่า  ดินแดนแถบอินโด-มาเลเซีย ถือเป็นศูนย์กลางความหลากหลายของกล้วยที่สำคัญที่สุด มาเลเซียจึงอาจเป็นศูนย์กลางของกล้วยในระยะแรกๆก็ได้  จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้การปลูกกล้วยขยายออกไปทั่วเขตร้อนและเข้าไปในเขตอบอุ่นของเอเชีย  อเมริกา แอฟริกาและออสเตรเลีย  อาจกล่าวได้ว่าประเทศทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน ฝนชุก  โดยเฉพาะเอเชีย กล้วยเป็นผลไม้ที่ปลูกกันมาก  บริโภคกันมากเป็นอันดับแรกของทุกประเทศ
       สำหรับความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทย จากหลักฐานเก่าแก่ที่สุด
คือ จดหมายเหตุของลาลูแบร์ที่เขียนขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จดหมายเหตุกล่าวถึงกล้วยงวงช้างและกล้วยงาช้าง น่าจะหมายถึง กล้วยยักษ์และกล้วยร้อยหวี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อกล้วย        มีกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังที่กล่าวแล้วนั้น จึงย่อมเชื่อได้ว่า มีการปลูกกล้วยในเมืองไทยมานานก่อนสมัยอาณาจักร




ส่วนต่างๆของกล้วย


     
ส่วนต่างๆของกล้วย

ลำต้น กล้วยมีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า หัว หรือเหง้า (rhizome) ที่หัวมีตา (bud) ซึ่งจะเจริญ เป็นต้น เกิดหน่อ (sucker) หลายหน่อเรียกว่า           การแตกกอ  หน่อที่เกิดหรือต้นที่เห็นอยู่เหนือดิน  
ความจริงแล้วมิใช่ลำต้น  เราเรียกว่า  ลำต้นเทียม 
(pseudostem) ส่วนนี้เกิดจากการอัดกันแน่นของกาบใบที่เกิดจากจุดเจริญของลำต้นใต้ดิน  กาบใบจะชูก้านใบและใบ และที่จุดเจริญนี้จะมีการเจริญเป็นดอกตามขึ้นมาหลังจากสิ้นสุด การเจริญของใบ    ใบสุดท้ายก่อนการเกิดดอก เรียกว่า ใบธง


            



ราก เป็นระบบรากฝอย แผ่ไปทางด้านกว้าง มากกว่าทางแนวดิ่งลึก








เมล็ด มีลักษณะกลมขรุขระ เปลือกหุ้มเมล็ดมีสีดำหนาและเหนียว
เนื้อในเมล็ดมีสีขาขยายพันธุ์ ด้วยการแยกหน่อหรือแยกเหง้า
         






    ดอก ดอกของกล้วยออกเป็นช่อ (inflorscence) ในช่อดอกยังมี           กลุ่มของช่อดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ  ระหว่างกลุ่มของช่อดอกย่อยแต่ละช่อ จะมีกลีบประดับหรือที่เราเรียกกันว่า กาบปลี (bract)     
มีสีม่วงแดงกั้นไว้  กลุ่มดอกเพศเมียอยู่ที่โคนและ     กลุ่มดอกเพศผู้อยู่ที่ปลาย เป็นส่วนที่เราเรียกว่า    หัวปลี (male bud)  ระหว่างกลุ่ม ดอกเพศเมียและดอกเพศผู้มีดอกกะเทย แต่บางพันธุ์ก็ไม่มี  ในช่อดอกย่อยแต่ละช่อมีดอกเรียงซ้อนกันอยู่ ๒ แถว  
ถ้าเป็นดอกเพศเมีย ดอกเหล่านี้จะ เจริญต่อไปเป็นผล

            





ผล  ผลกล้วยเกิดจากดอกเพศเมีย ซึ่งอยู่ที่โคน กลุ่มของดอกเพศเมีย ๑ กลุ่ม เจริญเป็นผล เรียกว่า ๑ หวี ช่อดอกเจริญเป็น ๑ เครือ ดังนั้นกล้วย ๑ เครืออาจมี ๒ - ๓ หวี  หรือมากกว่า ๑๐ หวี ทั้งนี้แล้วแต่พันธุ์กล้วยและการดูแล 
ผลของกล้วยมีการเจริญได้ โดยไม่ต้องผสมพันธุ์    
จึงทำให้กล้วยส่วนใหญ่ไม่มีเมล็ด
      







ใบ ใบกล้วยมีลักษณะเป็นแผ่นใบใหญ่ มีความกว้างประมาณ ๗๐-๙๐ เซนติเมตร ความยาว ๑.๗-๒.๕ เมตร 
ปลายใบมน  รูปใบขอบขนาน โคนใบมน และแผ่นใบ
มีสีเขียว